4 ต.ค. 2566

Lyrics “Theme of Prontera” - Enchanted Version Performed by: Gigi de Lana

Theme of Prontera - Enchanted Version (English Lyrics)

Performed by: Gigi de Lana


There you are,

Standing far from my window.

Bathed in light, a trick of eyes or some kind of miracle.

Wishfully, running across the field to you.

But I know it's all too late


Just like a bird,

I hope you'll come back someday

After we save the world from go~ing away.

Maybe I.. could find a world beyond,

So we could meet once again.


I remember, how you sto~od at my side

Through thick and thin, through blood and tears.

Defending all, so that others may live.

A sacrifice made complete


Chorus: 

You were always there to cheer me up

Raised me up when I was down

Bringing out what lay in me

My perfect fantasy


I’ve waited so long for your return

Maybe in time, I will get there.. I will get there!


[Instrumental] Oooh Oooh Oooh….


remember, how you sto~od at my side

Through thick and thin, through blood and tears.

Defending all, so that others may live.

A sacrifice made complete


Chorus: 

You were always there to cheer me up

Raised me up when I was down

Bringing out what lay in me

My perfect fantasy


I’ve waited so long for your return

Maybe in time, I will get there.. I will get there!



_________________________________________


แปลเพลง

เธอนั่นเอง,

ยืนอยู่ไกลจากหน้าต่างของฉัน

อาบไปด้วยแสง ภาพลวงตา หรือปาฏิหาริย์บางอย่าง

ฉันปรารถนาที่จะวิ่งข้ามทุ่งไปหาเธอ

แต่ฉันรู้ว่ามันสายเกินไปแล้ว



เช่นเดียวกับนก

ฉันหวังว่าสักวันหนึ่งเธอจะกลับมา

หลังจากที่เรารักษาโลกไม่ให้หายไป

บางทีฉันอาจจะค้นพบโลกที่ไกลออกไป

เราจึงจะได้พบกันอีกสักครั้ง



ฉันจำได้ว่าเธออยู่เคียงข้างฉันอย่างไร

ผ่านอุปสรรคต่างๆและความเจ็บปวด

ปกป้องทุกสิ่ง เพื่อให้ผู้อื่นมีชีวิตอยู่ได้

การเสียสละนั่นสำเร็จสมบูรณ์แล้ว



เธออยู่ที่นั่นเสมอเพื่อให้กำลังใจฉัน

ช่วยดึงฉันขึ้นได้ยามที่ฉันล้ม

ช่วยดึงสิ่งที่อยู่ในตัวฉันออกมา

เธอคือจินตนาการที่สมบูรณ์แบบของฉัน


ฉันรอการกลับมาของเธอมานานแล้ว

บางทีอาจจะทันเวลา..ฉันจะรอให้วันนั้นมาถึง.. เราจะต้องได้เจอกัน!


21 ก.ค. 2566

KS Amazing Point คืออะไร? แลกอะไรได้บ้าง?

รู้หรือไม่ว่า ทุกครั้งที่เราเทรด ซื้อขายหลักทรัพย์ หรืออนุพันธ์ในประเทศ และหลักทรัพย์ต่างประเทศ กับบลจ.หลักทรัพย์กสิกรไทย KS (KSecurities) ค่าธรรมเนียมทุกๆ 100 บาท รับ KS Amazing Point 1 คะแนน


วิธีตรวจสอบคะแนน:
สามารถทำได้ 2 วิธี คือ
1. ผ่านแอป K+ เข้าไปที่หน้าแรก เลือกบัตรสมาชิก >> กดเพิ่มบัตรสมาชิก ของ KSecurities ให้กด Consent ตามความต้องการ ก็จะสามารถดูคะแนนได้แล้ว


2. ผ่านเว็ปไซต์ของ KS https://www.kasikornsecurities.com/th/ks-amazing-point/check-point



คะแนน KS แลกอะไรได้บ้าง?

แลกอะไรได้บ้าง KSpoint บาท %
บริจาคมูลนิธิรามาธิบดี 500 250 50.00
Starbuck/Central/Paragon/Emporium/The Mall/PTT 1000 500 50.00
Easypass 1200 500 41.67
Starbuck/Central 500 200 40.00
TOPS/Lotus 300 100 33.33
Kbank Reward Point 1 0.01 1.00

ถ้าลองคำนวนดูการใช้คะแนนดู การแลกเป็นเงินบริจาคมูลนิธิรามาฯ มูลค่า 250 บาท ด้วย 500 คะแนน กับการแลกบัตรของขวัญ Starbuck/Central/Paragon/Emporium/The Mall หรือบัตรเติมน้ำมัน PTT มูลค่า 500 บาท ด้วย 1000 คะแนน จะคุ้มที่สุด  คิดเป็นเปอร์เซ็นต์ อยู่ที่ 50% เลยทีเดียว

รวบรวมข้อมูลจาก: https://www.kasikornsecurities.com/th/privilege/ks-amazing-point






18 ต.ค. 2564

การออมเงินและการลงทุน EP.2

การลงทุนของบุคคล

ทำไมบุคคลจึงต้องลงทุน (Why Invest)


โดยปกติรายได้ที่บุคคลได้รับจะถูกจัดสรรออกไปเป็น 2 ด้านใหญ่ ๆ คือ ส่วนหนึ่งเพื่อใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน และอีกส่วนหนึ่ง เก็บออมไว้สำหรับใช้จ่ายในวันข้างหน้า 

การใช้จ่ายเป็นสิ่งจำเป็นใน ชีวิตประจำวันของบุคคล เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่ถ้าสามารถจัดสรรค่าใช้จ่ายอย่างเหมาะสมให้มีเงินเหลือใช้ ก็จะเป็นประโยชน์ที่จะมีเงินออมเก็บไว้สำหรับความจำเป็นในวันข้างหน้าได้มากขึ้น การที่คนเรา เก็บออมก็เพราะ ได้เปรียบเทียบแล้วว่า เงินที่เก็บออมไว้ เพื่อใช้จ่ายในวันข้างหน้า จะให้ประโยชน์คุณค่า หรือ ความพอใจสูงสุด แก่เขามากกว่าจะเอามาใช้เสียในวันนี้ ทำอย่างไรจึงจะให้เงินออมที่อุตส่าห์สะสมไว้เพิ่มพูนค่าและก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่เจ้าของสิ่งสำคัญก็คือ คนเราต้องรู้จัก การลงทุน “ (Investments) การลงทุนเป็นการนำเอาทรัพย์สินที่บุคคลมีอยู่ไปดำเนินการในทางที่ก่อให้เกิดประโยชน์ ซึ่งจะให้ผลตอบแทนกลับคืนมาในช่วงเวลานั้น

การลงทุนแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ คือ 
- การลงทุนในสินทรัพย์ทีมีตัวตนเห็นประโยชน์จากการใช้ได้อย่างชัดเจน (Tangible investment)
- การลงทุนในสินทรัพย์ ที่ไม่เห็นประโยชน์การใช้ได้โดยชัดเจน (Intangible investment)

การลงทุนซื้อบ้าน ซื้อรถยนต์ ซื้อเพชรพลอยของมีค่า ซึ่งเราสามารถใช้ประโยชน์จาก ทรัพย์สินที่เราลงทุน เป็นเจ้าของไว้โดยตรงได้อย่างเต็มที่ที่ เรียกว่า Tangible investment

ส่วนการลงทุนในหุ้นพันธบัตรตราสารการเงินอื่น ๆ ซึ่งผู้ซื้อมีสิทธิเรียกร้อง และมีโอกาสได้รับผลตอบแทนจากการถือกรรมสิทธิ์ในตราสารเหล่านี้ไว้ เรียกว่าเป็นการลงทุนแบบ Intangible investments สำหรับในบทนี้จะเน้นเฉพาะการลงทุนที่เป็น Intangible investments หรือที่จัดอยู่ในประเภทของการลงทุนทางการเงิน เป็นส่วนใหญ่


การลงทุนทางการเงิน (Financial investments)

หมายถึง การที่ผู้ลงทุนนำเงินที่มีอยู่ไปซื้อหลักทรัพย์ต่าง ๆ ซึ่งหลักทรัพย์ดังกล่าวก่อให้เกิดรายได้กับผู้ลงทุนนั้น ซึ่งการลงทุนทางการเงิน โดยทั่วไป มักจะทำผ่านกลไกของตลาดการเงิน

วัตถุประสงค์ของการลงทุนทางการเงิน เพื่อจะได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนในรูปแบบของดอกเบี้ย (Interest) เงินปันผล (Dividend) กำไรจากการซื้อขายหุ้น (Capital gain) และสิทธิพิเศษอื่น ๆ กล่าวโดยสรุปก็คือ มุ่งผลตอบแทนจากการใช้ทุนในรูปแบบของผลตอบแทนทางการเงิน (Monetary return) นั่นเอง

สิ่งที่ได้รับจากการลงทุน เช่น เมื่อซื้อหุ้นของบริษัท ก็จะได้รับผลตอบแทนในรูปแบบของเงินปันผล

เงินเพื่อการลงทุน ได้มาจากไหน (Money For investing)

เงินสำหรับนำมาลงทุน ได้มาจากแหล่งใด หรือมีทางที่จะได้มาอย่างไร ถ้าบุคคลได้มีการวางแผนจัดการเรื่องการเงินของตนเองอย่างมีประสิทธิภาพ แล้วก็จะมีทางให้ได้เงินก้อนหนึ่ง เพื่อการลงทุนได้เสมอ บุคคลมีโอกาสได้เงินมาจาก

1. การกำหนดงบประมาณ (Using budgets) 
เราสามารถควบคุมการใช้จ่ายให้อยู่ในขอบเขตของเงินงบประมาณที่กำหนด ก็จะทำให้มีเงินออมเหลืออยู่จริงตามที่คาดคะเนไว้ ซึ่งเงินออมส่วนนี้สามารถนำไปลงทุนหาผลประโยชน์ได้

2. การออมในเชิงถูกบังคับ (Forced saving) 
ตามหลักของการจ่ายเงินเดือน ซึ่งธุรกิจได้มีการหักเงินสะสม หรือเงินสำรองเลี้ยงชีพของพนักงานไว้ เงินออมส่วนนี้เป็นของลูกจ้างพนักงาน แต่ยังถอนไม่ได้จนกว่าจะทำตามเงื่อนไขที่กำหนด ธุรกิจจะนำเงินสดดังกล่าว ไปให้สถาบันการเงิน หรือบุคคลที่สามเป็น ผู้ดูแลหาผลประโยชน์ให้งอกเงยตามที่กฎหมายกำหนด และจะจ่ายคืนแก่เ จ้าของผู้มีสิทธิ ได้รับเมื่อถึงเวลา เงินออมโดยโดยวิธีบังคับ จึงเป็น เงินลงทุน ทางหนึ่งของบุคคล เพียงแต่เขาไม่ได้เป็น ผู้ลงทุนเองโดยตรงแต่สถาบันนายจ้างเป็นผู้ลงทุนแทนให้

3. การงดเว้นรายจ่ายที่ไม่จำเป็น(Skip an expenditure) 
เป็นธรรมชาติของบุคคลที่มีเงินแล้วจะใช้จ่ายไปตามวิสัยปกติที่เคยเป็นมา เช่นทุกวันอาทิตย์ต้องออกไปทานข้าวนอกบ้าน ดูภาพยนตร์ เล่นโบว์ลิ่ง เล่นกอล์ฟ หรือซื้อของตามห้างสรรพสินค้าต่าง ๆ ดังนั้นถ้าจะมีการยกเลิกบ้างก็ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย จะมีเงินเหลือนำมาลงทุนได้

4. การเก็บรักษารายได้พิเศษ (Save the nonroutine incomes) 
บางครั้งคนเราก็มักจะได้รับรายพิเศษเข้ามาบ้าง เช่น การไปทำงานพิเศษมีรายได้หรือขายของเก่า ที่ไม่ใช้แล้ว หรือญาติผู้ใหญ่ได้ให้เงินเป็นของขวัญรางวัล ซึ่งเงินเหล่านี้ยังไม่มีความจำเป็นที่จะต้องรีบใช้จ่ายแต่ประการใด ดังนั้นถ้าสามารถเก็บออมไว้ก็จะนำไปหาผลประโยชน์ได้มาก

ผลตอบแทนจากการลงทุน (Return from investing)


การลงทุนมีความสัมพันธ์กับด้านผลตอบแทน (Returns) และความเสี่ยง (Risks) การที่คนเราลงทุนก็เพราะเราคาดหวังจะได้รับผลตอบแทนเท่านั้นเท่านี้ แต่บางครั้งไม่เป็นไปตามที่คาดหมาย จึงต้องอยู่ภายใต้ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้ด้วย ผลตอบแทนจากการลงทุน มีหลายรูปแบบได้แก่ 

ก. รายได้ตามปกติ (Current income) รายได้ตามปกติได้แก่ ดอกเบี้ยหรือเงินปันผล ในกรณีที่บุคคลซื้อพันธบัตร หรือลงทุนในหุ้นต่าง ๆ ซึ่งกำหนดเวลาก็จะได้รับดอกเบี้ยหรือเงินปันผลตามที่บริษัทระบุไว้

ข. กำไรจากการซื้อขายหุ้น (Capital gains) ในกรณีของหุ้นสามัญที่บุคคลลงทุนซื้อไว้มีราคาสูงขึ้น ซึ่งเมื่อขายออกไปแล้วจะได้กำไร

ค. ค่าเช่า (Rent) ในการลงทุนซื้อทรัพย์สินโดยเฉพาะอย่างยิ่งพวกอสังหาริมทรัพย์ เช่นที่ดิน บ้าน อพาร์ตเมนท์ ที่อยู่อาศัย เมื่อนำไปให้ผู้อื่นเช่า ก็จะมีรายได้ ค่าเช่าเป็นรายได้ที่คืนมาสู่เจ้าของ

ง. ผลตอบแทนอื่น ๆ (Others) เช่นการซื้อหุ้นสามัญก็จะมีสิทธิในหารออกกเสียงเลือกคณะกรรมการของบริษัท และถ้าถือหุ้นไว้มากก็จะมีโอกาสจะได้รับเลือกเป็นผู้บริหารซึ่งสามารถกำหนดนโยบายของบริษัทได้ หรือสิทธิในการซื้อขายหุ้นใหม่ได้ในราคาพิเศษ เป็นต้น

ในการคำนึงถึงผลตอบแทน ผู้ลงทุนควรถามตัวเอง ผลตอบแทนที่ตนต้องการได้รับ สักกี่เปอร์เซ็นต์ โดยจะต้องคำนึงถึงอัตราเงินเฟ้อไว้ด้วย เพราะเงินเฟ้อย่อมมีผลกระทบต่อผลตอบแทนในการลงทุน ดังนั้นในการพูดถึง เรื่องผลตอบแทนผู้ลงทุนควรให้ความสนใจในกับ Real rate of return มากกว่า Nominal rate of return

Real rate of return คือ ผลตอบแทนแท้จริงที่จะได้รับ โดยได้คำนึงถึงเรื่องเงินเฟ้อส่วน Nominal rate of return เป็นผลตอบแทน ที่เสนอให้หรือให้ตามที่บริษัทประกาศไว้ สมมติว่า การลงทุนครั้งนี้เสนอให้ผลตอบแทน (Nominal rate of return) 10 % ถ้ามีการคาดคะเนว่าอัตราเงินเฟ้อที่จะเกิดขึ้นปีละ 6 % ดังนั้นผลตอบแทนแท้จริงที่ได้รับ จะเป็นแค่ 4 % เท่านั้น

นอกจากนี้ในการลงทุน ผู้ลงทุนต้องคำนึงถึงในเรื่อง ดอกเบี้ยของดอกเบี้ย (Interest on interest) ที่จะได้รับด้วย โดยคำนึงถึง ดอกเบี้ยทบต้น ในการลงทุนการซื้อพันธบัตร ซึ่งให้ดอกเบี้ยประจำทุก ๆ งวด และจะได้รับเงินต้นคืนเมื่อครบกำหนด ถ้าผู้ลงทุนนำดอกเบี้ยได้รับไปใช้จ่าย ผลตอบแทนทีจะได้รับก็จะเท่ากับอัตราดอกเบี้ยตามที่ระบุไว้ในพันธบัตรนั้น แต่ถ้าผู้ลงทุนนำดอกเบี้ยที่ได้รับในแต่ละงวดไปลงทุนต่อ ดอกเบี้ย ดังกล่าวจะกลายเป็น เงินต้นของงวดถัดไป ตามหลักของดอกเบี้ยทบต้นก่อให้เกิดดอกผลตามมา ดังนั้นเมื่อสิ้นสุดเวลา ก็จะได้รับเงินต้นคืน พร้อมผลตอบแทน ได้อีกมาก ซึ่งสรุปแล้ว ก็คือ อัตราผลตอบแทนได้รับจริงจะสูงกว่าที่ได้ประกาศไว้ เพียงแต่มีข้อแม้ว่าเราจะต้องนำดอกผลที่ได้รับไปลงทุนใหม่ (Reinvest) อย่างส่ำเสมอเท่านั้น

หลักการลงทุน


1.ความปลอดภัยของเงินลงทุน (Security of principal) หมายถึงการลงทุนที่มุ่งรักษาไว้ซึ่งเงินลงทุน โดยหวังที่จะได้รับเงินเงินลงทุนเป็นการแน่นอน นโยบายการลงทุนแบบนี้เป็นนโยบายค่อนข้าง
Conservative เพราะคำนึงถึงความปลอดภัยไว้ก่อนเพื่อไม่ให้เงินต้นสูญไป การลงทุนที่ยึดถือหลักความปลอดภัยได้แก่ การฝากเงินกับธนาคาร หรือการซื้อหลักทรัพย์รัฐบาล เป็นต้น

2.ความเสถียรภาพของรายได้ (Stability of income) หมายถึง การลงทุนที่ให้รายได้โดยส่ำเสมอ หรือได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนเป็นการแน่นอนและสม่ำเสมอ ผู้ลงทุนธรรมดา ที่ไม่ใช่นักเก็งกำไรมักต้องการได้รับดอกเบี้ย หรือปันผลเพื่อจะนำไปใช้จ่ายตามความต้องการได้ ดังนั้น การฝากธนาคารหรือลงทุนในหลักทรัพย์ที่ให้ได้รับดอกผลอย่างสม่ำเสมอ

3.การเติบโตของเงินลงทุน (Capital growth) โดยทั่วไปแล้วผู้ลงทุนมักจะตั้งความมุ่งหมายไว้ว่า เงินที่เขาลงทุนไปนั้นจะต้องมีค่าเพิ่มพูนขึ้น ความงอกเงยของเงินทุนเกิดขึ้นได้จากการลงทุนในหุ้นของบริษัทที่กำลังขยายตัว

4.ความคล่องตัวในการซื้อขาย (Marketability) หมายถึง การเลือกลงทุนในหลักทรัพย์ที่ซื้อง่ายขายคล่อง คือเป็นหลักทรัพย์ที่เป็นที่ต้องการของตลาด หลักทรัพย์บางชนิดจำหน่ายได้ง่าย แต่บางอย่างจำหน่ายได้ยาก ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับราคา ขนาดและชื่อเสียงของบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์ โดยทั่วไปแล้วหุ้นของบริษัทใหญ่ย่อมจำหน่ายได้ง่ายกว่าหุ้นของบริษัทเล็ก

5.การกระจายเงินลงทุน (Diversification) ในการลงทุนไม่ควรทุ่มเงินลงทุนไปในหลักทรัพย์ชนิดใดชนิดหนึ่ง เพราะถ้าธุรกิจนั้นเกิดล้มเหลว เงินที่ลงทุนไปนั้นจะสูญเสียไปทั้งหมด การกระจายการลงทุนจะช่วยลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ลงทุนได้มาก

6.คำนวณภาษีด้วย (Tax status) ในการลงทุนต้องพิจารณาด้วยว่าผลตอบแทนที่ได้รับจะต้องเสียภาษี หรือได้รับการยกเว้นภาษี ถ้าต้องเสียภาษีด้วยจะทำให้ผลตอบแทนที่ได้จริงน้อยลง ฉะนั้นในการลงทุนผู้ลงทุนควรจะต้องคำนึงถึงผลตอบแทนภายหลังจากการหักภาษีแล้วหลักทรัพย์รัฐบาลย่อมได้รับการยกเว้นภาษี ดังนั้นผู้ลงทุนจึงได้รับผลตอบแทนเต็มที่

กลยุทธ์การลงทุน (Investment strategies)

ในการลงทุนจำเป็นต้องใช้กลยุทธ์ หรือวิธีการอันแยบยลในการลงทุนเพื่อให้เกิดผลจากการลงทุนมากที่สุด หากไม่มีการกำหนดกลยุทธ์การลงทุน อาจทำให้การลงทุนไม่ตื่นเต้น ไม่จุดหมาย และบางทีอาจทำให้ผลตอบแทนที่ได้รับไม่คุ้ม ในการกำหนดกลยุทธ์นั้นสิ่งแรกที่ต้องทำคือ กำหนดเป้าหมายการลงทุน (Setting investment goals) เสียก่อน หลังจากนั้นจึงค่อยเลือกลงทุนในหลักทรัพย์ประเภทต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับเป้าหมายการลงทุนที่กำหนดไว้

เป้าหมายการลงทุนของบุคคลและครอบครัว 

โดยทั่วไปมี 3 อย่างคือ

1.เพื่อเป็นเงินทุนยามฉุกเฉิน (Goals for precautionary funds) 
ทุกคนย่อมมีความจำเป็นที่จะต้องการมีเงินสักก้อนหนึ่งไว้ใช้จ่ายในยามฉุกเฉิน โดยทั่วไปจะกันเงินประมาณ 6-7 เท่าของเงินเดือนมาเป็นเงินทุนสำหรับยามฉุกเฉินไว้ใช้จ่ายเมื่อยามจำเป็น เช่น กรณีที่เกิดตกงานขึ้นมาจะได้มีเงินจำนวนนี้ไว้ใช้จ่ายได้ในขณะที่กำลังหางานใหม่ เมื่อฉุกเฉินขึ้นมา ดังนั้นเงินจำนวนนี้จะต้องนำไปลงทุนในทางที่มีความคล่องตัว ที่สุดและอย่างปลอดภัยที่สุด เพราะว่าเราไม่รู้ว่าเหตุการณ์ดังกล่าวจะเกิดขึ้นเมื่อไร ดังนั้นจึงต้องมีเงินที่สามารถนำมาใช้ได้ในทุกเวลา

2.เพื่อใช้เป็นเงินทุนเฉพาะอย่าง (Goals for specific funds) 
เงินทุนเฉพาะอย่างที่จัดสรรไว้เป็นพิเศษในแต่ละเหตุการณ์แต่ละวัตถุประสงค์ เช่น เพื่อใช้ตอนเกษียณอายุ หรือเพื่อใช้ทัศนาจรท่องเที่ยว ฯลฯ ซึ่งเหตุการณ์เหล่านี้จะไม่เกิดขึ้นทันทีทันใดเหมือนกรณีเตรียมเงินทุนเผื่อยามฉุกเฉิน เพราะเหตุการณ์เหล่านี้ เราทราบล่วงหน้าได้คาดคะเนได้ว่าจะเกิดขึ้นเมื่อไร เราจึงได้จัดวางแผนจัดเตรียมไว้และส่วนมากมักจะเกิดขึ้นในอนาคต

3.เพื่อใช้เป็นเงินทุนในการเก็งกำไร (Goals for speculation funds) 
เงินทุนสำหรับใช้เพื่อเก็งกำไรนี้ หากเกิดสูญไปหรือขาดทุนขึ้นมา ก็จะไม่กระทบกระเทือนต่อการดำรงชีพ เพราะเป็นเงินที่ไม่ได้อยู่ในการวางแผนการเงินปกติของบุคคล เป็นอีกส่วนหนึ่งต่างหาก จึงสามารถนำมาลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูงและผลตอบแทนสูงได้




แหล่งที่มาของข้อมูล: https://sites.google.com/site/goimage88/


9 ก.ค. 2560

การออมเงินและการลงทุน EP.1

การออมเงิน


การออม คือ รายได้หลังจากหักรายจ่ายแล้ว จะมีส่วนซึ่งเหลืออยู่ ซึ่งไม่ได้ถูกใช้สอยออกไป ส่วนนี้เรียกว่า เงินออม 

Savings = Incomes - Expenses

โดยทั่วไป การออมจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อบุคคลนั้นมีรายได้มากกว่ารายจ่าย ทางที่จะเพิ่มเงินออมให้แก่ บุคคลนั้น อาจทำได้โดยการพยายาม หาทางเพิ่มรายได้ ให้มากขึ้นด้วยการทำงานมากขึ้น ใช้เวลาว่างในการหารายได้พิเศษ หรือการปรับปรุงงาน ที่ทำอยู่ให้มีประสิทธิภาพมีรายได้สูงขึ้น เป็นต้น 

นอกจากนั้น การลดรายจ่ายลง ด้วยการรู้จักใช้จ่ายเท่าที่จำเป็น และเหมาะสม ก็จะทำให้มีการออมเกิดขึ้นได้เหมือนกัน

ความสำคัญของเงินออม


เงินออมเป็นปัจจัยที่จะทำให้เป้าหมายซึ่งบุคคลกำหนดไว้ในอนาคตบรรลุจุดประสงค์ เช่น กำหนดเป้าหมายไว้ว่า จะต้องมีบ้าน เป็นของตนเองในอนาคตให้ได้ เงินออมจะเป็นปัจจัยสำคัญที่กำหนดเป้าหมายที่วางไว้เป็นจริงขึ้นมาได้ นอกจากนี้เงินออม ยังใช้สำหรับแก้ไขปัญหา ความเดือดร้อนทางการเงิน ที่อาจเกิดขึ้นอย่างคาดไม่ถึงของบุคคลได้ด้วย ดังนั้นบุคคลจึง ควรมีการออม อย่างสม่ำเสมอในชีวิต

ภาพนี้อธิบายได้ดีมากๆเลยค่ะ คุณจะเป็นหมูที่สมบูรณ์ หรือ เป็นหมูที่ผอมโซ?


สิ่งจูงใจในการออม


การที่คนเรามี เป้าหมาย อย่างใดอย่างหนึ่งในอนาคตกำหนดไว้อย่างชัดเจนก็จะทำให้เกิดความกระตือรือร้นที่จะเก็บออมมากขึ้น เป้าหมายของแต่ละบุคคลอาจแตกต่างกัน แล้วแต่ความจำเป็นและความต้องการ และขึ้นอยู่กับความหวังและความทะเยอทะยานในชีวิตด้วย 

ตัวอย่างเช่น บางคนอยากมีบ้านและที่ดินเป็นของตัวเอง อยากมีการศึกษาสูงๆ อยากมีชีวิตที่สุขสบายในยามเกษียณ หรือหวังที่จะให้ลูกหลานมีหลักฐานมั่นคง ดังนั้นเป้าหมายในการออมแตกต่างกันนี้ จะเป็นสิ่งที่กำหนดให้จำนวนเงินออม และระยะเวลาในการออมแตกต่างกันไป

ข้อปฏิบัติเกี่ยวกับการออมที่ดี


เงินสดส่วนบุคคล จะทำให้ทราบว่าแต่ละเดือนจะมีเงินคงเหลือเป็นเงินออมเท่าไหร่ ในทางปฏิบัติ เพื่อให้การออมได้ผลจริงๆ ควรจัดทำดังนี้

1. จัดทำงบประมาณการเงิน ทำงบประมาณรายได้ รายจ่าย เพื่อจะได้รู้ว่ามีเงินเหลือที่จะเก็บออมเท่าไร เป็นทางเดียวที่จะทำให้ทราบล่วงหน้าได้ว่า จะสามารถเก็บออมได้หรือไม่ เก็บออมได้เดือนละเท่าไหร่

2. เมื่อทราบความสามารถในการเก็บออมต่อเดือนของตัวเองแล้ว  ให้กันเงินออมส่วนนั้นไปฝากธนาคารเพื่อให้เกิดดอกออกผลต่อไป

3. นำรายได้ที่เกิดขึ้นจากเงินออม เช่น ดอกเบี้ย ไปลงทุนต่อ เพื่อให้เงินออมงอกเงยขึ้นไปอีก การเก็บเงินออมไว้กับตนเองนั้นย่อมไม่ปลอดภัย และเป็นการสูญเสียรายได้ที่ควรจะได้รับ ดังนั้นควรเก็บรักษาไว้ในที่ปลอดภัยและมีรายได้ด้วย ดังนี้
- ฝากกับสถาบันการเงินบางแห่งไว้ เช่น ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน สหกรณ์ออมทรัพย์ 
- ซื้อหลักทรัพย์หรือตราสารฯ ที่มีความมั่นคง ก่อให้เกิดรายได้ และสามารถเปลี่ยนมาเป็น เงินสดได้ง่ายมาถือไว้ เช่น การซื้อพันธบัตรรัฐบาล สลากออมสิน พันธบัตรออมทรัพย์ต่างๆ ตั๋วสัญญาใช้เงินของบริษัทเงินทุนที่มั่นคง การซื้อหน่วยลงทุน กองทุนรวม หรือซื้อหุ้นของบริษัทที่มั่นคงถือไว้ ฯลฯ

ปัจจัยสำคัญในการออม

1. ผลตอบแทน
ยิ่งผลตอบแทนในการออมเพิ่มมากขึ้นเท่าใด ก็จะเป็นสิ่งดึงดูดใจให้บุคคลมีการออมเพิ่มมากขึ้นเท่านั้น เช่น ในภาวะที่รัฐบาล กำหนดให้ ธนาคารพาณิชย์ ทุกแห่งลดอัตราดอกเบี้ย เงินฝากประจำ ทุกประเภทลง ทั้งยังเก็บดอกเบี้ยภาษีเงินฝากอีก จึงทำให้ระดับเงินออมของธนาคารพาณิชย์ มีแนวโน้มลดลงเป็นอย่างมาก

2. มูลค่าของอำนาจซื้อของเงินในปัจจุบัน
ผู้ออมจะตัดสินใจทำ การออมมากขึ้นภายหลังจาก การพิจารณาถึง อำนาจซื้อของเงิน ที่มีอยู่ในปัจจุบันว่า จะมีความแตกต่างจากมูลค่าของเงินใน อนาคตมักหมายความว่าจำนวนเงิน 1 บาท ซื้อสินค้าและบริการ ได้ในจำนวนใกล้เคียง หรือเท่ากับการใช้เงิน 1 บาทซื้อสินค้าหรือบริการในอีก 2-3 ปีข้างหน้าหรือมากกว่านั้น ในทางตรงกันข้าม ถ้าท่านว่าการเก็บเงินออมไว้โดยไม่ยอมซื้อสินค้าขณะนี้ ท่านอาจจะสูญเสียความพอใจ ที่ควรได้รับจาก การซื้อสินค้า ในปัจจุบัน มากกว่าผลตอบแทนที่ได้รับจาก การออม ทั้งยังเสียเวลาคอยที่จะซื้อสินค้าในอนาคต ที่อาจมีราคาสูงมากกว่า อัตราผลตอบแทน ที่ได้รับอีกด้วย ดังนั้นถ้าท่านพอใจทีจะซื้อสินค้าในวันนี้มากกว่าการหวังผลตอบแทนที่จะได้รับเพิ่มขึ้นในอนาคต ท่านก็จะมี การออมลดลง

3. รายได้ส่วนบุคคลสุทธิ 
ผู้ที่มีรายได้คงที่แน่นอนเป็นประจำทุกเดือนในจำนวนที่ไม่สูงมากนักเช่น ข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ พนักงานบริษัทเอกชนระดับต่ำ จำนวนเงินออมที่กันไว้อาจเป็นเพียงจำนวนน้อยตามอัตราส่วนของรายได้ที่มีอยู่ ซึ่งต่างจากจำนวนเงินออมของผู้บริหารระดับสูง หรือนักการเมืองที่จะมีเงินเหลือออมได้มากกว่า นอกจากนั้น การเปลี่ยนแปลงรายได้เนื่องจาก การเลื่อนตำแหน่ง การโยกย้ายงานการถูกปลดออกจากตำแหน่งหน้าที่การงาน ที่มีผลต่อระดับการออมเช่นกัน คือ อาจทำให้มีการออมเพิ่มมากขึ้น หรือลดลงไปจากระดับเดิมได้ ดังนั้นในระหว่างที่ท่านมีรายได้มากกว่าปกติ หรือในขณะที่ท่านมีความสามารถ หารายได้ได้ อยู่จึงควรจะมี การออมไว้เพื่อป้องกัน ปัญหาทางการเงิน อันอาจเกิดขึ้นได้ดังกล่าวแล้ว

4. ความแน่นอนของจำนวนรายได้ในอนาคตหลังการเกษียณอายุ 
ถ้าผู้มีรายได้ทุกคนทราบได้แน่นอนว่าเมื่อใดก็ตามที่ท่านไม่มีความสามารถหารายได้ได้อีกต่อไป ท่านก็จะไม่มีปัญหาทางการเงิน เกิดขึ้น หรือถ้ามีก็ไม่ใช่ปัญหาที่รุนแรงมากนัก เนื่องจากหน่วยงานที่ท่านเคยทำงานอยู่ มีนโยบายช่วยเหลือ ท่านในวัยชราหลัง เกษียรอายุ หรือภายหลังออกจากงานก่อนกำหนด เช่น นโยบายการให้บำนาญ บำเหน็จ เงินชดเชย เป็นต้น ดังนั้นผู้ออมอาจมีการออมลดลง เพื่อกันเงินไว้ใช้จ่ายมากขึ้นโดยไม่ทำให้จำนวนเงินรวมในอนาคตกระทบกระเทือนแต่ประการใด

รูปแบบการออม 

เงินออมส่วนใหญ่ก็ยังเป็นการฝากเงินก้อนกับธนาคารถึงร้อยละ 88 สูงกว่าร้อยละ 71 ในการสำรวจครั้งที่แล้ว สำหรับการออม ในรูปแบบ กรมธรรม์ประกันชีวิต ที่ลดลงค่อนข้างมากโดยลดลงในทุกภาคของประเทศนั้น ๆ สอดคล้องกับรายได้เฉลี่ยที่แท้จริง (หักลบด้วยเงินเฟ้อ) ที่ลดลง เนื่องจากผู้จะออมใน รูปแบบของประกันฯ ส่วนใหญ่เป็นผู้ที่มีรายได้ค่อนข้างสูง สำหรับการออมใน รูปแบบอื่น ๆ เช่น การออมสหกรณ์และกองทุนสำรองเลี้ยงชีพก็มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเล็กน้อย

ประโยชน์ของการออมต่อประเทศ


1) การออมเป็นปัจจัยสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจเป็นอย่างมากเนื่องจากเป็นการช่วยสนับสนุนการลงทุน การผลิตของประเทศ และการจ้างงาน เป็นต้น

2) สร้างเสริมความมีเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและลดผลกระทบจาก ความผันผวนจากวิกฤติการณ์ ในตลาดเงินโลก โดยประเทศ ที่มีอัตราการออมสูง การลงทุนในประเทศก็ไม่ต้องอาศัยเงินทุนจากต่างประเทศมากนัก ตัวอย่าง เช่น สิงคโปร์ และ ไต้หวัน ล้วนเป็น ประเทศที่มีการออมสูง ซึ่งสามารถพึ่งตนเองในด้านเงินทุน สำหรับใช้ในการพัฒนา จึงทำให้การพัฒนา ประเทศมี ความต่อเนื่อง และมั่นคง มีระดับการพึ่งพิงเงินทุนจากต่างประเทศต่ำ ซึ่งต่างจากประเทศไทยที่ต้องพึ่งพาเงินออมจากต่างประเทศ

3) ค่อนข้างมาก ส่งผลให้เกิดการกดดันทางด้านเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ดังนั้นการออมจึงนับว่า มีความสำคัญค่อนข้างมากเพื่อยอมรับการลงทุน และเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจ และต่อผู้ออมเอง เพื่อเป็นหลักประกันความมั่นคงในชีวิตในระยะยาว จึงขอเชิญชวนทุกท่านมารวมพลังสร้างกลุ่มวัฒนธรรมการออมใหม่ อย่างไรก็ตาม การออมคือการใช้จ่ายอย่างฉลาดมีแบบแผนและหลีกเลี่ยงการใช้จ่ายสินค้าฟุ่มเฟือยจากต่างประเทศ ในทางตรงกันข้าม การออมไม่ได้หมายถึงการตระหนี้ถี่เหนียวจนเกินไปโดยไม่ใช้จ่ายจนถึงระดับหนึ่ง ก็จะส่งผลเสียต่อระบบเศรษฐกิจได้เช่นกัน

รูปแบบของการออมของครัวเรือน

ผลการวิเคราะห์รูปแบบการออมของครัวเรือนเกษตรกรในชนบท ได้แก่ วิธีการออมครัวเรือนเกษตรกร วัตถุประสงค์ในการออม ผู้ที่ตัดสินใจในการออมของครัวเรือน ปัญหาการออมที่ประสบอยู่ในปัจจุบัน และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับ รูปแบบการออมของครัวเรือน ที่คิดว่าเหมาะสม ดังมีรายละเอียดดังลำดับต่อไปนี้


เกษตรกรในชนบทที่ทำการศึกษามีวิธีการออมหลายรูปแบบด้วยกันได้แก่ ออมไว้เองที่บ้าน นำไปลงทุนหาผลประโยชน์ ออมผ่าน สถาบันการเงินในระบบ ซึ่งโดยภาพรวมแล้วเกษตรกรจะออมผ่านสถาบันการเงินในระบบถึงร้อยละ 47.9 ของครัวเรือน เกษตรกร ทั้งหมด สถาบันการเงินดังกล่าวคือ กลุ่มแม่บ้าน/กลุ่มออมทรัพย์ ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร คิดเป็นสัดส่วนเท่ากับร้องละ 14.912.811.7และ 8.5 ตามลำดับ เมื่อจำแนกครัวเรือนเกษตรกรตัวอย่างตามวัตถุประสงค์ในการออม กล่าวคือ เกษตรกรมีวัตถุประสงค์ต่าง ๆ ในการออม ได้แก่ ออมไว้ใช้จ่ายในเวลาจำเป็นฉุกเฉิน ออมไว้ใช้จ่ายบริโภคภายในครัวเรือน ออมไว้สำหรับการลงทุน ออมไว้เพื่อทำบุญ และออมไว้เพื่อชำระคืนเงินกู้ เป็นต้น การตัดสินใจการออมของครัวเรือนเกษตรกรนั้นมาจาก หัวหน้าครัวเรือน และสมาชิกในครัวเรือน ตัดสินใจร่วมกัน เช่นเดียวกันรูปแบบการกู้ยืม ซึ่งโดยภาพรวมแล้วปรากฏว่า การตัดสินใจในการออม ของครัวเรือนเกษตรกร มาจาก หัวหน้าครัวเรือนและสมาชิกครัวเรือน



ตารางแสดงจำนวนครัวเรือนตัวอย่าง จำแนกตามวิธีการออมของครัวเรือน


บ้านกฐิน
บ้านสระหลวง
รวม
ออมไว้เองที่บ้าน
นำไปลงทุนหาผลประโยชน์ ออมผ่านสถาบันการเงินในระบบ
·            ธกส.
·            ธนาคารพาณิชย์
·            สหกรณ์การเกษตร
·            กลุ่มแม่บ้าน/กลุ่มออมทรัพย์
ไม่มีเงินออม 
32.0
2.0
42.0
14.0
12.0
10.0
6.0
 28.0
25.0
6.8
54.5
9.1
13.6
6.8
25.0
20.5
28.7
4.3
47.9
11.7
12.8
8.5
14.9
24.5

หมายเหตุ  บางครัวเรือนมีวิธีการออมทรัพย์หลายวิธี


ตารางแสดงจำนวนครัวเรือนตัวอย่าง จำแนกตามวัตถุประสงค์ในการออมทรัพย์                                                                                                         
     หน่วย  : ร้อยละ


บ้านกฐิน
บ้านสระหลวง
รวม
ใช้จ่ายในเวลาจำเป็นฉุกเฉิน
ใช้จ่ายบริโภค
ใช้จ่ายลงทุน
เพื่อทำบุญ
ชำระคืนเงินกู้
ออมไว้ตามระเบียบของสหกรณ์
ไม่มีเงินออม
40.0
42.0
24.0
2.0
0.0
4.0
28.0
52.3
25.0
20.5
2.3
2.3
0.0
20.5
45.7
35.1
26.6
2.1
1.1
2.1
26.6

หมายเหตุ บางครัวเรือนมีวัตถุประสงค์ในการออมทรัพย์หลายประการ





การบริหารการเสี่ยงภัย หมายถึง กระบวนการวางแผนและประเมินผลความเสี่ยง โดยการเลือกภัยวิธีที่ดีสุด ในการจัดการความสูญเสีย และผลต่างๆที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขั้นตอนในการจัดการความเสี่ยงภัย มีดังนี้ คือ
1.      การวิเคราะห์ภัยที่อาจก่อให้เกิดความเสียหาย
2.      การหาวิธีการในการจัดการความเสี่ยงภัย
3.      การคัดเลือกวิธีการที่ดีที่สุด
4.      การปฏิบัติตามแผนหรือวิธีการที่ได้เลือกไว้
5.      ตรวจสอบและเปลี่ยนแปลงวิธีการให้เหมาะสมกับภัยที่เปลี่ยนแปลงไป

วิธีการจัดการความเสี่ยงภัย ทำได้หลายรูปแบบดังนี้

1. การหลีกเลี่ยงความเสี่ยงภัย ( Risk avoidance ) 
ไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับกิจกรรมหรืองาน ที่จะก่อให้เกิด ความเสี่ยงภัย นั้น เช่น กลัวเครื่องบินตก ก็ไม่ไปนั่งเครื่องบิน ไม่กล้านำเงินไปลงทุนธุรกิจ เพราะกลัวขาดทุน ก็นำเงินไปฝากธนาคาร หรือลงทุนในธุรกิจ ที่มีความเสี่ยงภัยน้อยกว่า อย่างไรก็ตามการหลีกเหลี่ยงความเสี่ยงภัยบางครั้งอาจให้ผลเสีย เพราะบางครั้งเราอาจปฏิเสธโครงการ ที่มีความเสี่ยงสูงแต่มีประโยชน์ต่อสังคมมาก เช่น โครงการโรงไฟฟ้าปรมาณู โรงงานอุตสาห-กรรมแร่สำคัญต่างๆ ที่มีความเสี่ยงภัย ต่อการเกิดมลภาวะเป็นพิษ แต่มีคุณประโยชน์ทางเศรษฐกิจสูง ดังนั้นในบางครั้งการจัดการการเสี่ยงภัย โดยวิธีนี้ควรเป็นวิธีสุดท้าย

2. การลดความเสี่ยงภัย ( Risk Reduction ) 
อาจลดจำนวนครั้ง ( frequency ) หรือลดความรุนแรง (severity) ของการเกิดภัย ซึ่งทำได้ 3 วิธี คือ

·            การป้องกันการเกิดความเสียหาย ( Loss prevention ) ทำก่อนที่จะมีความเสียหายเกิดขึ้น เช่น การเปลี่ยนสายไฟ หรืออุปกรณ์ไฟฟ้าที่เก่า การติดป้ายห้ามสูบบุหรี่ในโรงงาน การตรวจสอบสภาพรถยนต์อยู่เสมอ การติดตั้งเครื่องดับเพลิง การติดตั้งสัญญาณการเตือนภัยกันขโมย เป็นต้น

·            การควบคุมความเสียหาย ( Loss control ) ทำการขณะ หรือ ภายหลังจากที่มีความเสียหายเกิดขึ้น ทั้งนี้เพื่อควบคุมความรุนแรงของความเสียหายนั้นหรือลดความเสียหายลง เช่น การที่พนักงานดับเพลิงทำการดับเพลิงอย่างทันท่วงที การติดตั้งเครื่องพ่นน้ำดับเพลิงอัตโนมัติ การที่ผู้เจ็บป่วยรีบไปหาหมอรักษา เพื่อไม่ให้มีอาการหนักมากขึ้น เป็นต้น

·            การแยกทรัพย์สิน ( Separation ) ทำก่อนเกิดความเสียหาย เช่น การเก็บของมีค่าไว้คนละแห่ง เช่น บ้าน ธนาคาร การสร้างโรงงาน และโกดังไว้คนละแห่ง เมื่อเกิดไฟไหม้จะไม่เสียหายทั้งหมด หรือการแยกสินค้าไว้หลายๆโกดังเช่นกัน

 3. การรับการเสี่ยงภัยไว้เอง ( Risk retention ) 
คือ การที่เรายินยอมรับภาระความเสียหายไว้เองหากมีภัยเกิดขึ้น โดยจะตั้งใจหรือไม่ก็ตาม และอาจจะรับภาระนี้ไว้ทั้งหมด หรือบางส่วนก็ได้ การจัดการการเสี่ยงภัยวิธีนี้มีเหตุผล คือ

·            ภัยที่เกิดขึ้นนั้นก่อให้เกิดความเสียหายน้อยมาก พอที่จะรับภาระได้ เช่น ภัยที่เกิดจากปากกาสูญหายซึ่งราคาไม่แพง

·            ความเสี่ยงภัยนั้นไม่สามารถโอนไปให้ผู้อื่นได้ เช่น การที่ผู้ส่งออกหรือผู้ลงทุนในต่างประเทศต้องยอมรับความเสี่ยง ที่ทรัพย์สินของตนจะถูกรัฐบาลต่างประเทศยึด หรือ อายัด ด้วยสาเหตุต่างๆ

·            ได้พิจารณาแล้วว่า วิธีนี้เสียค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด

 4. การโอนความเสี่ยงภัย ( Risk Transfer ) 
เป็นวิธีการจัดการการเสี่ยงภัยที่นิยมมากในปัจจุบันนี้ โดยการโอนความเสี่ยงภัยที่จะ ก่อให้เกิด ความเสียหายทั้งหมด หรือ บางส่วน ไปให้บุคคลอื่นรับภาระแทน ซึ่งมีวิธีการกระทำได้ 2 วิธี

·            การโอนความเสี่ยงภัยไปให้ผู้อื่นที่ไม่ใช่การประกันภัย ( Non-insurance Transfer ) หมายถึง การโอนความเสี่ยงภัย ไปให้บุคคลอื่น ที่ไม่ใช่บริษัทประกันภัยโดยสัญญา ซึ่งในสัญญาบางประเภทคู่สัญญา จะได้รับการโอนความเสี่ยงภัย ในการปฏิบัติตาม สัญญานั้นไปด้วย เช่น การจ้างบริษัทมาทำความสะอาดภายนอกอาคารที่สูงๆ การทำสัญญาซื้อ- ขายสินค้าล่วงหน้าโดยการกำหนดราคา ที่แน่นอน ถึงแม้ว่าราคาจะเปลี่ยนแปลงก็ตาม ก็จะต้องซื้อ - ขายในราคาเดิม การให้มีการค้ำประกันการทำงานของพนักงาน

·            การโอนความเสี่ยงภัยในรูปของการประกันภัย ( Insurance Transfer ) หมายถึง การโอนความเสี่ยงภัยไปให้บริษัทประกันภัย ในรูปของการเอาประกันไว้กับบริษัทประกันภัย โดยการทำสัญญาประกันภัย ซึ่งบริษัทประกันภัยสัญญาว่าจะชดใช้ค่าเสียหาย ที่เกิดขึ้น แก่ผู้เอาประกันภัย สำหรับความเสียหายที่เกิดขึ้น และได้รับการคุ้มครองตามสัญญาประกันภัยนั้น เช่น การทำประกันรถยนต์ เป็นการโอนความเสี่ยงภัยในความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับรถยนต์ไปให้บริษัทประกันภัย โดยสัญญาว่าหากรถยนต์เกิดอุบัติเหตุ เสียหาย บริษัทประกันภัยจะรับชดใช้ให้หรือ ซ่อมแซมให้ หรือ การทำประกันชีวิต โดยผู้เอาประกันเห็นว่า หากตัวเองประสบอันตรายถึงชีวิต จะทำให้ครอบครัวลำบาก จึงโอนความเสี่ยงภัยนี้ไปให้บริษัทประกันภัย โดยสัญญาว่า ถ้าผู้เอาประกันภัยเสียชีวิตลงบริษัทจะชดใช้เงิน จำนวนหนึ่งให้กับครอบครัวเป็นการบรรเทา ในเรื่องของความเป็นอยู่ที่ขาดรายได้จากสามี ซึ่งเป็นความเสี่ยงภัยอันหนึ่งเช่นกัน

===================================================================================== 
ความเสี่ยงกับการประกันชีวิตและสุขภาพ (Risk Management with Life and Health Insurance)


ความเสียงคือโอกาสที่จะเกิดความสูญเสียอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งนำความเสียหายต่อตนเองและผู้อื่น และอาจวัดมูลค่าออกมาทางเศรษฐกิจ และเป็นตัวเงิน lความเสี่ยงมีหลายอย่าง เช่น ความตาย ความพิการ ความสูญเสียทรัพย์สินและรายได้ lไม่มีใครสามารถขจัดความเสี่ยงได้ แต่มีหนทางที่ป้องกัน

ประเภทของความเสี่ยง
  • Pure risk (ความเสี่ยงที่แท้จริง) คือ ความเสี่ยงที่มีโอกาสจะเกิดความเสียหาย ถ้าเกิดเหตุการณ์หรือภัยขึ้น หรืออาจกล่าวได้อีกแง่หนึ่งว่า “ถ้าไม่มีภัย ความเสียหายจะไม่เกิดขึ้น” เช่น การซื้อรถยนต์ หากทำประกันภัยรถยนต์ชั้น 1 เอาไว้ บริษัทประกันก็จะชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจากอุบัติเหตุตามจริง แต่ไม่เกินกว่าความเสียหายที่เกิดขึ้น คือ ผู้ซื้อจะไม่ได้รับกำไรจากการทำประกันภัยรถยนต์แต่อย่างไร

    ความเสี่ยงประเภทนี้จึงเรียกว่าความเสี่ยงที่แท้จริง หรือ Pure Risk คือผู้ที่ทำการป้องกันความเสี่ยงนั้น จะมีแต่เท่าทุนและขาดทุนเท่านั้น คือ บริษัทจะไม่ได้และไม่เสียจากเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น แต่ผู้ซื้อจะมีรายจ่ายเพื่อการป้องกันความเสี่ยงนั้นด้วย
    ความเสี่ยงภัยที่แท้จริงสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ส่วน คือ

    - ความเสี่ยงที่เกิดแก่บุคคล (Personal Risk) ซึ่งความเสี่ยงนี้เมื่อเกิดขึ้นแล้ว บุคคลอาจเกิดความสูญเสียในรายได้หรือทรัพย์สิน ซึ่งเป็นผลพวงมาจากการสูญเสียความสามารถในการหารายได้

    - ความเสี่ยงที่เกิดต่อทรัพย์สิน (Property Risk) คือ ความเสี่ยงที่บุคคลหรือบริษัท เจ้าของทรัพย์สินจะต้องได้รับ เช่น การถูกขโมยทรัพย์สิน หรือทำให้ทรัพย์สินเสียหาย เป็นต้น

  • ความเสี่ยงที่มุ่งเก็งกำไร (Speculative Risk) เป็นความเสี่ยงที่เกิดขึ้นแล้วมีโอกาส กำไร เท่าทุน หรือขาดทุน ซึ่งความเสี่ยงนี้เราสามารถจะพบได้ในชีวิตประจำวันทั่วไป เช่น การซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาล การซื้อหวยบนดิน การเล่นการพนัน ฯลฯ หรือในทางธุรกิจ ความเสี่ยงนี้จะเกิดขึ้นเมื่อธุรกิจลงทุนประกอบธุรกิจ ธุรกิจก็จะประสบกับการที่ขาดทุน เท่าทุน หรือ กำไรเช่นเดียวกัน


4 กลยุทธ์การลดความเสี่ยง

1.      การหลีกเลี่ยงความเสี่ยง อย่างง่ายที่สุด คือการไม่ไปเกี่ยวข้องใน เหตุการณ์ที่จะเกิด ความเสียหายแก่เรา อย่างไรก็ตามภัยบางอย่างก็ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ เช่น ความตาย

2.      การลดความเสี่ยง โดยการเพิ่มความป้องกันความปลอดภัยเข้าไป และในบ้างครั้งอาจทำให้เกิดต้นทุนค่าใช้จ่ายได้ ดังนั้นระดับของความต้องการรักษาความปลอดภัยก็จะแตกต่างไปตามแต่ความจำเป็นของแต่ ละบุคคล

3.      การคงไว้ซึ่งความเสี่ยง กรณีที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงความเสี่ยงนั้นได้ หรือต้องยอมรับความเสียหายที่จะเกิดขึ้น เช่น เจ้าของบ้านไม่สนใจในเรื่องการทำประกันอัคคีภัย หากเกิดไฟไหม้เขาก็ต้องยอมรับกับความเสี่ยงทั้งหมด

4.      การโอนความเสี่ยง โดยการโอนความเสี่ยงให้แก่สถาบันอื่น เช่นบริษัทประกันภัยเป็นผู้รับภาระแทน

ขั้นตอนในการบริหารความเสี่ยง

จำแนกลักษณะของภัยที่คาดว่าจะเกิดขึ้นกับตนเองและครอบครัวรวมถึง ประเมินความเสียหายหากเหตุการณ์นั้นเกิดขึ้น lเลือกกลยุทธ์ในการป้องกันแก้ไขความเสี่ยงนั้นให้เหมาะสม

การควบคุมและติดตามผล

ประกันชีวิตคืออะไร .. ประกันทำไม .. เพื่อใคร

ประกันชีวิต เป็นแผนการออมทรัพย์ชนิดหนึ่ง ซึ่งให้ผลประโยชน์กว่าการออมทรัพย์ โดยปกติเพราะจะได้ ทั้งเงินออม และความคุ้มครอง

ประกันทำไม คนเราต้องเผชิญกับภัยอันตรารอบด้าน และเรามาสามารถรู้ได้ล่วงหน้าว่า จะเกิดขึ้นกับเราเมื่อไร เวลาใด

เพื่อใคร จะช่วยเหลือผู้เอาประกันและครอบครัวของผู้เอาประกัน

แบบของประกันชีวิต
1.      การประกันแบบชั่วระยะเวลา
2.      การประกันชีวิตแบบตลอดชีพ
3.      การประกันแบบสะสมทรัพย์
4.      การประกันแบบเงินได้ประจำ
5.      การประกันชีวิตแบบอื่นๆ

การวางแผนทางการเงินเพื่อการทำประกันชีวิตที่ดี
1.      กำหนดวัตถุประสงค์ที่แน่นอน
2.      วางแผนการซื้อประกัน
3.      การประเมินผลและควบคุมอะไรคือความต้องการ .. และเหมาะสมกับเงินออมที่มีอยู่หรือไม่ ปรับปรุงกรมธรรม์ให้เหมาะสมกับความต้องการของครอบครัวอยู่เสมอ จัดสรรเงินออมอย่างเหมาะสม โดยปกติคนทั่วไปมักเก็บเงิน 10 –15% เพื่อทำประกันชีวิต

ประโยชน์ทางการเงินของการประกันชีวิต เป็นแหล่งเงินออมที่สามารถ กู้ยามฉุกเฉินได้ เป็นการลงทุนให้เกิดดอกผล สามารถนำไปหักลดหย่อน ในการเสียภาษีเงินได้



แหล่งที่มาของข้อมูล: https://sites.google.com/site/goimage88/